วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

รำเหย่อย





ประวัติความเป็นมา

        รำเหย่อย เป็นการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งของไทยที่นิยมเล่นกันในบางหมู่บ้าน บางท้องถิ่นของภาคกลางนอกตัวจังหวัดเท่านั้น ไม่สู้จะแพร่หลายนัก การละเล่นประเภทนี้ดูแทบจะสูญหายไป กรมศิลปากรได้พิจารณาเห็นว่าการเล่นรำเหย่อยมีแบบแผนการเล่นที่น่าดูมาก ควรรักษาให้ดำรงอยู่และแพร่หลายยิ่งขึ้น จึงได้จัดส่งคณะนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรไปรับการฝึกหัดและถ่ายทอดการละเล่น เพลงเหย่อยไว้จากชาวบ้านที่หมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อเดือนมิถุนายน 2506 แล้วนำออกแสดงเป็นครั้งแรกในโอกาสที่รัฐบาลจัดการแสดงถวายสมเด็จพระรามา ธิบดีแห่งมาเลเซีย ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2507

คำร้องแต่งขึ้นตามแบบแผนของการรำเหย่อยใช้ถ่อยคำพื้น ๆ ร้องโต้ตอบกันด้วยกลอนสด เป็นการร้องเกี้ยวกันระหว่างชายหญิงมุ่งความสนุกเป็นส่วนใหญ่รำเหย่อยนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “พาดผ้า”


ลักษณะการแสดง

        ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่นยิ่งมากยิ่งสนุกสนาน โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็นฝ่ายชายกับหญิงแต่ละฝ่ายจะมีผู้ร้อง ซึ่งจะประกอบด้วยพ่อเพลง แม่เพลง ลูกคู่ และผู้รำ เริ่มจากการประโคมกลองอย่างกึกก้องเพื่อให้ผู้เล่น และผู้ดูเกิดความรู้สึก สนุกสนานจากนั้นจังหวะก็เริ่มช้าลง เมื่อเริ่มเล่นฝ่ายชายก็จะออกมาร้อง และรำ แล้วเอาผ้าไปคล้องไหล่ให้ฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงเมื่อถูกคล้องผ้าก็จะออกมารำ


โอกาสที่แสดง

        จะนิยมเล่นในเทศกาลวันตรุษสงกรานต์ งานนักขัตฤกษ์ งานมงคลและงานรื่นเริงของชาวบ้าน โดยเฉพาะในเขตอำเภอพนมทวนเช่น บ้านทวน บ้านห้วยสะพาน บ้านทุ่งสมอ บ้านหนองปลิง บางครั้งก็จะเป็นการเล่นประกอบการเล่นพื้นเมืองอื่น ๆ เช่น การเล่นลูกช่วงรำ ลุกช่วงขี้ข้า หรือประกอบการเล่นเหยี่ยวเฉี่ยวลูกไก่


การแต่งกาย

        ผู้แสดงแต่งกายแบบพื้นบ้านภาคกลาง ชายนุ่งผ้าโจงกระเบนต่าง ๆ สีกัน สวมเสื้อคอกลมแขนสั้นเหนือศอก มีผ้าคาดเอวและพาดไหล่ หญิงนุ่งผ้าพิมพ์ลายโจงกระเบนหลากสีกัน สวมเสื้อคอกลมแขนยาว ห่มสไบทับเสื้อ มีเครื่องประดับ มีเครื่องประดับ เข็มขัด สร้อยคอ สร้อยข้อมือ


ดนตรีที่ใช้

        กลองยาว ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ปี่ รำมะนา กระบอกไม้ไผ่


สถานที่แสดง

        แสดงในบริเวณพื้นลานกว้าง ๆหรือนำมาแสดงบนเวที


จำนวนผู้แสดง

        ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น


เนื้อร้องเพลงรำเหย่อย


        ชาย มาเถิดหนาแม่มา มาเล่นพาดผ้ากันเอย

        พี่ตั้งวงไว้ท่า อย่านิ่งรอช้าเลยเอย

        พี่ตั้งวงไว้คอย อย่าให้วงกร่อยเลยเอย

        หญิง ให้พี่ยื่นแขนขวา เข้ามาพาดผ้าเถิดเอย

        ชาย พาดเอยพาดลง พาดที่องค์น้องเอย

        หญิง มาเถิดพวกเรา ไปรำกับเขาหน่อยเอย

        ชาย สวยเอยแม่คุณอย่าช้า รีบรำออกมาเถิดเอย

        หญิง รำร่ายกรายวง สวยดังหงส์ทองเอย

        ชาย รำเอยรำร่อน สวยดังกินนรนางเอย

        หญิง รำเอยรำคู่ น่าเอ็นดูจริงเอย

        ชาย เจ้าเคียวใบข้าว พี่รักเจ้าสาวจริงเอย

        หญิง เจ้าเคียวใบพวง อย่ามาเป็นห่วงเลยเอย

        ชาย รักน้องจริง รักแล้วไม่ทิ้งไปเลย

        หญิง รักน้องไม่จริง รักแล้วก็ทิ้งไปเอย

        ชาย พี่แบกรักมาเต็มอก รักจะตกเสียแล้วเอย

        หญิง ผู้ชายหลายใจ เชื่อไม่ได้เลยเอย

        ชาย พี่แบกรักมาเต็มร้า ช่างไม่เมตตาเสียเลยเอย

        หญิง เมียมีอยู่เต็มตัก จะให้น้องรักอย่างไรเอย

        ชาย สวยเอยคนดี เมียพี่มีเมื่อไรเอย

        หญิง เมียมีอยู่ที่บ้าน จะทิ้งทอดทานให้ใครเอย

        ชาย ถ้าฉีกได้เหมือนปู จะฉีกให้ดูใจเอย

        หญิง รักจริงแล้วหนอ รีบไปสู่ขอน้องเอย

        ชาย ขอก็ได้ สินสอดเท่าไรน้องเอย

        หญิง หมากลูกพลูจีบ ให้พี่รีบไปขอเอย

        ชาย ข้าวยากหมากแพง เห็นสุดแรงน้องเอย

        หญิง หมากลูกพลูครึ่ง รีบไปให้ถึงเถิดเอย

        ชาย รักกันหนาพากันหนี เห็นจะดีกว่าเอย

        หญิง แม่สอนเอาไว้ ไม่เชื่อคำชายเลยเอย

        ชาย แม่สอนเอาไว้ หนีตามกันไปเถิดเอย

        หญิง พ่อสอนไว้ว่า ให้กลับพาราแล้วเอย

        ชาย พ่อสอนไว้ว่า ให้กลับพาราพี่เอย

        หญิง กำเกวียนกำกง จะต้องจบวงแล้วเอย

        ชาย กรรมเอยวิบาก วันนี้ต้องจากแล้วเอย

        หญิง เวลาก็จวน น้องจะรีบด่วนไปก่อนเอย

        ชาย เราร่วมอวยพร ก่อนจะลาจรไปก่อนเอย

        พร้อมกัน ให้หมดทุกข์โศกโรคภัย สวัสดีมีชัยทุกคนเอย



ขอขคุณที่มา: https://sites.google.com/site/ajanthus/ra-heyxy

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559

                                         เพลงลำตัด

                                              ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลำตัด

เพลงลำตัด     ลำตัด เป็นการแสดงที่มาจากการแสดงบันตนของแขกมลายู ลำตัดจะมีลักษณะตัด และเฉือนกันด้วยเพลง (ลำ) การว่าลำตัดจึงเป็นการว่าเพลงรับฝีปากของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงโดยตรง มีทั้งบทเกี้ยวพาราสี ต่อว่า เสียดสี แทรกลูกขัด ลูกหยอด ให้ได้ตลกเฮฮากัน สำนวนกลอนมีนัยยะออกเป็นสองแง่สองง่าม เครื่องดนตรีที่ใช้ คือ กลองรำมะนา ฉิ่ง วิธีแสดงจะมีต้นเสียงร้องก่อน โดยส่งสร้อยให้ลูกคู่ร้องรับ แล้วจึงด้นกลอนเดินความ เมื่อลงลูกคู่ก็จะรับด้วยสร้อยเดิมพร้อมกับตีรำมะนา และฉิ่งเข้าจังหวะการร้องรับนั้นด้วย  ลำตัด เป็นการแสดงที่มาจากการแสดงลิเกบันตนของมลายู
     ลำตัด เรียกได้ว่า เป็นเพลงพื้นบ้านพื้นเมืองชนิดหนึ่งของไทย ซึ่ง นิยมร้องกันในเขตภาคกลาง ทั้งนี้ มีต้นกำเนิดมาจาก “ลิเกบันตน” ของชาวมลายู ในต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยลิเกบันตนดังกล่าว มีรูปแบบของการแสดงแยกออกเป็น 2 สาขา สาขาหนึ่ง เรียกว่า “ฮันดาเลาะ” และ  “ลากูเยา” และลิเกบันตนลากูเยา มีลักษณะของการแสดงว่ากลอนสดแก้กัน โดยมีลูกคู่คอยรับ เมื่อต้นบทร้องจบ ต่อมาเมื่อมีการดัดแปลงกลายเป็นภาษาไทยทั้งหมด จึงเรียกกันว่า “ลิเกลำตัด” ในระยะแรก และเรียก สั้น ๆ ในเวลาต่อมาว่า “ลำตัด” ซึ่งมีลักษณะของเพลงและทำนองเพลงที่นำมาให้ลูกคู่รับ โดยมากก็มักตัดมาจากเพลงร้องหรือเพลงดนตรีอีกชั้นหนึ่ง  โดยเลือกเอาแต่ตอนที่เหมาะสมแก่การร้องนี้มาเท่านั้นบัดนี้ชื่อถูกตัดลงไปโดยความกร่อนของภาษาเหลือเพียงว่า “ลำตัด” เป็นการตั้งชื่อที่เหมาะสม เรียกง่าย มีความหมายรู้ได้ดีมาก (มนตรี ตราโมท,2518 : 46 – 65) กล่าวคือ ความหมายเดิม “ลำ” แปลว่าเพลงเมื่อนำมารวมกับคำว่า “ตัด” จึงหมายถึง การนำเอาเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ อีกหลายชนิด ตัดรวมเข้าเป็นบทเพลง  เพื่อการแสดงลำตัด เช่น  ตัดเอา เพลงเกี่ยวข้าว  เพลงฉ่อย  เพลงเรือ  เพลงพวงมาลัย  และเพลงอีแซว  เป็นต้น เข้ามาเป็นการละเล่นที่เรียกว่า ลำตัด (ธนู บุญยรัตพันธ์, สัมภาษณ์)

วิธีแสดงลำตัด
     ผู้เล่นลำตัดส่วนใหญ่จะเป็นมุสลิมต่างจากลิเกที่ผู้แสดงจะเป็นคนไทยล้วนๆเพราะลิเกต้องไหว้ครูฤาษีซึ่งขัดกับหลักของศาสนาอิสลาม ปัจจุบันคณะลำตัดที่มีชื่อเสียงในอยุธยา จะมีอยู่ 2 คณะ คือ คณะซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายมอญ และคณะคนไทยซึ่งเป็นชาวมุสลิมการแสดงลำตัดเป็นการเฉือนคารมกันด้วยเพลง(ลำ)โดยมีการรำประกอบแต่ไม่ได้ เล่นเป็นเรื่องอย่างลิเกและการแสดงต้องมีทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงและเป็นที่นิยมกันมากเนื่องจากเป็นการแสดงโดยการใช้ไหวพริบปฏิภาณใน การด้นกลอนสดส่วนการประชันลำตัดระหว่าง2 คณะ จะใช้เสียงฮาของคนดูเป็นเกณฑ์ คณะใดได้เสียงฮาเสียงปรบมือมากกว่า ก็จะถือเป็นฝ่ายชนะ 


ขอบคุณที่มา:http://mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/cgi-bin/mcp/main_php/print_informed.php?id_count_inform=14691